แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ชุดโครงการ การจัดการเครือข่าย(Cluster)กับการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (ต่อเนื่องปีที่ 2)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
หัวหน้าโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
วิสาหกิจชุมชนเป็นสถาบันทางธุรกิจพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจชุมชน ปัจจุบันภาพรวมของวิสาหกิจขุมชนมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ กลุ่มวิสาหกิจจำเป็นมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management) และตลาด(Market) หรือ 6 Ms โดยมีพื้นฐานความรู้ของบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจึงเป็นหัวใจของการกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจขายสินค้าได้มากกว่าคู่แข่งขัน การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทำได้ในหลายด้านอาทิ การขายสินค้าและบริการที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การผลิตสินค้าและบริการด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า การทำการตลาดโดยอาศัยเทคนิคต่างๆ การวางแผนทางการเงินสำหรับกิจการ และการตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่งขัน ในภาวการณ์ปัจจุบัน ธุรกิจวิสาหกิจชุมชนเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและเนื่องจากลักษณะของการดำเนินธุรกิจจะเป็นลักษณะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น อันจะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นในปัจจุบันวิสาหกิจชุมชน จึงเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน “เครือข่ายวิสาหกิจ” (Cluster) คือ การรวมกลุ่มของวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารวมตัวกันดำเนินกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน(Geographical Proximity) มีความร่วมมือเกื้อหนุน เชื่อมโยง และเสริมกิจการซึ่งกันและกันอย่างครบวงจร (Commonality & Complementarily)ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน (Horizontal Linkages) เป็นความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมสนับสนุนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันคือการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ วิสาหกิจชุมชน ในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ชุดโครงการ การจัดการเครือข่าย(Cluster)กับการบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (ต่อเนื่องปีที่ 2) มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้บูรณาการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตลาดบริการที่เป็นเลิศ กลยุทธ์การตลาดวิสาหกิจชุมชนและความรู้ด้านการบัญชี เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันหรือผลิตภาพของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้นในท้ายที่สุด

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้บูรณาการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตลาดบริการที่เป็นเลิศ กลยุทธ์การตลาดวิสาหกิจชุมชนและความรู้ด้านการบัญชี เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันหรือผลิตภาพของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจในตำบลกลาง ในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
90 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมและวิธีดำเนินการ เป็นการอบรมนอกพื้นที่ ณ.พื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย 3 กิจกรรมย่อย กิจกรรมที่ 1/3 กลยุทธ์การตลาดวิสาหกิจชุมชน จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ในการสร้างชื่อสินค้าและตราสินค้า และให้คำปรึกษาในการสร้างชื่อและตราสินค้าเพื่อให้วิสาหกิจชุมชนมีตราสินค้า(Branding) กิจกรรมที่ 2/3 "เจาะธุรกิจ พิชิตต้นทุน" สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการคิดต้นทุนของผลิตภัณฑ์ การจัดทำบัญชี กิจกรรมที่ 3/3 เทคนิคการตลาดบริการที่เป็นเลิศ จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขอรับงบประมาณ เตรียมแผนงาน ประชุมวิธีการดำเนินงาน ติดต่อประสานงาน --- --- --- 30,000.00
2.ประชาสัมพันธ์ รับสมัครผู้อบรม เตรียมเอกสาร ดำเนินการกิจกรรมที่ 1-3 --- -- --- 31,800.00
3.ดำเนินการกิจกรรมที่ 1-3 --- -- - --- 90,000.00
4.สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผล --- --- -- 30,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 1 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-16.00 บรรยายและฝึกปฎิบัติ "เจาะธุรกิจ พิชิตต้นทุน" ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ
25 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-16.00 บรรยายและฝึกปฎิบัติเทคนิคการตลาดบริการที่เป็นเลิศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
26 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-16.00 บรรยายและฝึกปฎิบัติกลยุทธ์การตลาดวิสาหกิจชุมชน นายชวพจน์ ศุภสารและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนได้รับความรู้เพื่อปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจได้
ด้านสังคม : -ไม่มี
ด้านสิ่งแวดล้อม : -ไม่มี
ด้านอื่นๆ : -ไม่มี

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
72
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
20
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีความคุ้มค่าตามงบประมาณที่ได้รับ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1705223 Hotel Marketing and Sales
หลักสูตร การจัดการการโรงแรม
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ไม่มี
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ไม่มี

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 44,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 22,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
10,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 88,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
1,500.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
1,500.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
1,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 74,700.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมัน (2800 บาทต่อวัน *4 วัน *1 คัน)
=
11,200.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาแรงงาน ( 2 คน *300 บาทต่อวัน *20 วัน)
=
12,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาพิมพ์เอกสาร
=
15,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาประเมินผลและรายงานผล
=
12,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมสถานที่
=
9,500.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาสำรวจทรัพยากรวัตถุดิบในพื้นที่
=
15,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 49,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 49,400.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
55,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
27,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
16,900.00 บาท
=
16,900.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 181,800.00 บาท