แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ค่าย “ฉันอยากเป็น...หมอ มอทราย” ครั้งที่ 7
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางศุทธินี ธิราช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : กุมารเวชศาสตร์ โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการ ค่ายฉันอยากเป็นหมอ...มอทราย ครั้งที่ 5 หัวหน้าโครงการ ค่ายฉันอยากเป็นหมอ...มอทราย ครั้งที่ 6
ความเชี่ยวชาญ : กุมารเวชศาสตร์
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ ซึ่งเปิดรับนักศึกษาแพทย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีภูมิลำเนาใน 4 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ ปัจจุบันมีนักศึกษาแพทย์ทั้งหมด 9 รุ่น ดังนั้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ตลอดจนวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของนักศึกษาแพทย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อประกอบการตัดสินใจในการศึกษาต่อ พร้อมทั้งเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขกับชุมชน ทางคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการ ค่าย “ฉันอยากเป็น...หมอ มอทราย” ดังนั้น ทางกลุ่มสาขาวิชา ฯ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดให้มีโครงการดังกล่าวขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาแพทย์และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อประชาสัมพันธ์วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน
2.เพื่อแนะแนวกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และการสาธารณสุข
3.เพื่อแนะแนวทางการศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
4.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในวิชาชีพแพทย์
5.เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข โรงพยาบาลร่วมผลิตและชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1-3 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 จากโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
220 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การละลายพฤติกรรมให้นักเรียนและนักศึกษาแพทย์ได้มีความคุ้นเคยกันก่อนเริ่มกิจกรรมอื่น การแชร์ประสบการณ์การเป็นนักศึกษาแพทย์และแพทย์จากนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก คลินิก และอาจารย์แพทย์ กิจกรรมวิชาการ ให้นักเรียนได้สัมผัสถึงการเรียนแพทย์ เช่น กิจกรรม clinical skill กิจกรรมไหว้พระพรหมและเคารพอาจารย์ใหญ่ กิจกรรมแนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอแผนการปฏิบัติงานประจำปีและขออนุมัติจัดทำโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและเตรียมงาน -- --- --- --- 0.00
3.จัดกิจกรรม “ค่ายฉันอยากเป็น...หมอ มอทราย “ ครั้งที่ 7 -- --- --- --- 150,000.00
4.สรุปผลการดำเนินงาน -- --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 91 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
07:00-09:00 ลงทะเบียน -
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
19:00-22:00 สันทนาการ นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
18:00-19:00 พักรับประทานอาหารเย็น -
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
17:00-18:00 ไหว้พระพรหมและเคารพอาจารย์ใหญ่ นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
14:45-17:00 วิชาการ clinical skills นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
14:30-14:45 พักรับประทานอาหารว่าง -
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
13:00-14:30 ประสบการณ์การเป็นนักศึกษาแพทย์และแพทย์ อ.นพ.วัฒนา, อ.พญ.ปาริชาติ, อ.พญ.ศุทธินี, อ.พญ.ศิราพร
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
12:00-13:00 พักรับประทานอาหารเที่ยง -
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
10:45-12:00 การละลายพฤติกรรม นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
10:30-10:45 พักรับประทานอาหารว่าง -
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
09:30-10:30 การละลายพฤติกรรม นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
09:00-09:30 พิธีเปิด รศ.นพ.ป่วน คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
18:30-23:00 กิจกรรม night party นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
15:15-17:30 สันทนาการ นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
15:00-15:15 พักรับประทานอาหารว่าง -
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
13:30-15:00 แนะนำหลักสูตร การสอบเข้า การจัดการตัวเอง นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก และชั้นคลินิก
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
12:30-13:30 พักรับประทานอาหารเที่ยง -
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
10:15-12:30 เข้าฐานวิชาการ นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
10:00-10:15 พักรับประทานอาหารว่าง -
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
08:00-10:00 เข้าฐานวิชาการ นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
11 ตุลาคม พ.ศ. 2557
07:00-08:00 พักรับประทานอาหารเช้า -
12 ตุลาคม พ.ศ. 2557
07:00-08:00 พักรับประทานอาหารเช้า -
12 ตุลาคม พ.ศ. 2557
08:00-10:00 ทดสอบความรู้ นักศึกษาแพทย์ปรีคลินิก
12 ตุลาคม พ.ศ. 2557
10:00-10:15 พักรับประทานอาหารว่าง -
12 ตุลาคม พ.ศ. 2557
10:15-12:00 สรุปกิจกรรม มอบเกียรติบัตร พิธีปิด อ.นพ.วัฒนา
12 ตุลาคม พ.ศ. 2557
12:00-13:00 พักรับประทานอาหารเที่ยง -

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1.วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ด้านสังคม : 1.สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกและคลินิก วิทยาลัยแพทยศาสตร์ และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 2.วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น 3.นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจในวิชาชีพแพทย์และชีวิตการเป็นแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น 4.นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปใช้ประกอบการศึกษาต่อ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
220
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีความคุ้มค่าเพราะจะได้ประชาสัมพันธ์วิทยาลัยแพทยศาตร์และการสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไปยังนักเรียนในเขตภาคอีสาน ได้รู้จักและเห็นถึงศักยภาพของสถาบัน นำไปสู่ชื่อเสียงและจำนวนนักศึกษาทีจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้จะได้ศึกษาข้อมูลการสมัครเข้าเรียนแพทย์ของนักเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา รายวิชาระบบผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
หลักสูตร แพทยศาตร์บัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ได้นำเนื้อหาของการบริการวิชาการสอดแทรกในสาระวิชากายวิภาคศาสตร์ ในรายวิชาระบบผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาให้บริการวิชาการกับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการในหัวข้อกายวิภาคศาสตร์
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 4,360.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,360.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
200.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
800.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
840.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,520.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 115,440.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 26,250.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 210 คน
=
26,250.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 73,500.00 บาท )
1) จำนวน 7 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 210 คน
=
73,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 15,690.00 บาท )
1) ค่าจัดกิจกรรมซุ้มค่ายหมอ
=
15,690.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 30,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 5,700.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
700.00 บาท
=
700.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 24,500.00 บาท )
1) ค่าเสื้อค่าย
=
15,000.00 บาท
2) ค่ากระเป๋าค่าย
=
6,500.00 บาท
3) ค่าสมุดค่าย
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท