แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การถ่ายทอดความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการในการแก้ปัญหาของชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือหน่วยงานของรัฐ
ลักษณะโครงการ อื่นๆ :  การแก้ปัญหาชุมชน กิจการ องค์กรและ/หรือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือหน่วยงานของรัฐ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสมบัติ สินธุเชาวน์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมอุตสาหการ
ประสบการณ์ : งานบริการวิชาการและงานวิจัยโดยประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ
ความเชี่ยวชาญ : optimization productivity improvement
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการมีหลากหลายแขนง เช่น ด้านบริหารจัดการ ด้านการวิจัยดำเนินงาน การควบคุมคุณภาพและด้านการผลิต เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆของชุมชนได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วๆไปในสังคม เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด สามารถใช้ความรู้ทฤษฎีแถวคอยมาวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจอุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมการผลิต เช่น ปัญหาการผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ สามารถใช้ความรู้ด้านสถิติวิศวกรรมหรือการควบคุมคุณภาพมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและใช้ความรู้ด้านการศึกษางานอุตสาหกรรมหรือกรรมวิธีการผลิตมาช่วยแก้ปัญหา เป็นต้น ดังนั้นหากชุมชนหรือธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานหรือลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ก็สามารถนำความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการมาประยุกต์ใช้ได้ ผู้เสนอโครงการจึงเห็นความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการให้แก่ชุมชน พร้อมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการในการแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน กิจการ องค์กรและ/หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้นักศึกษาของภาควิชามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน อันจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนและตัวนักศึกษาเองด้วยในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อแก้ปัญหาด้านต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดค่าใช้จ่ายให้แก่ชุมชน กิจการ ธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมหรือหน่วยงานของรัฐ
2.เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและบุคลากรรวมทั้งนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์
3.เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาในการแก้ปัญหาให้แก่ชุมชน กิจการ องค์กร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือหน่วยงานของรัฐ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ชุมชน ผู้บริหารและพนักงานของกิจการ องค์กร และ/หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในองค์กรภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมบริการและ/หรืออุตสาหกรรมการผลิต ในจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
20 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ติดต่อหาชุมชน/ธุรกิจองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2. ศึกษาปัญหาของชุมชน/ธุรกิจองค์กรที่เข้าร่วมโครงการ 3. เลือกปัญหาที่จะทำการแก้ไขและวิเคราะห์ปัญหาที่เลือก 4. ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา 5. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งเปรียบเทียบผล 6. สรุปผลการแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชน/ธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อหาชุมชน/ธุรกิจองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ - --- --- --- 15,000.00
2.ศึกษาปัญหาของชุมชน/ธุรกิจองค์กรที่เข้าร่วมโครงการ - --- --- --- 0.00
3.เลือกปัญหาที่จะทำการแก้ไขและวิเคราะห์ปัญหาที่เลือก -- - --- --- 35,000.00
4.ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา --- - - --- 30,000.00
5.เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งเปรียบเทียบผล --- --- -- 0.00
6.สรุปผลการแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชน/ธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ --- --- --- 12,200.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-16.30 ศึกษาปัญหาชุมชน/ธุรกิจองค์กรที่เข้าร่วมโครงการ ผศ.ดร.สมบัติ สินธุเชาวน์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-16.30 ติดต่อหาชุมชน/ธุรกิจองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ผศ.ดร.สมบัติ สินธุเชาวน์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
11 ธันวาคม พ.ศ. 2557
09.00-16.30 เลือกปัญหาที่จะทำการวิเคราะห์และแก้ไข ผศ.ดร.สมบัติ สินธุเชาวน์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
09.00-16.30 ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมอุตสาหการในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา ผศ.ดร.สมบัติ สินธุเชาวน์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2558
09.00-16.30 เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งเปรียบเทียบผล ผศ.ดร.สมบัติ สินธุเชาวน์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
1 กันยายน พ.ศ. 2558
09.00-16.30 สรุปผลการแก้ไขปัญหาให้แก้ไขชุมชน/ธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ ผศ.ดร.สมบัติ สินธุเชาวน์และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ชุมชน กิจการและองค์กรที่เข้าร่วมหรือเกี่ยวข้องกับโครงการมีการดำเนินงานหรือมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและ/หรือมีค่าใช้จ่ายที่ลดลง
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นที่รู้จักในชุมชนมากยิ่งขึ้น และนักศึกษาที่ร่วมโครงการมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นในหลักการของการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้ด้าน วิศวกรรมอุตสาหการที่ได้ศึกษามาในชั้นเรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
20
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
75
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
65
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
สามารถลดค่าใช้จ่ายหรือเวลาลงได้อย่างน้อย 5%

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1302411 การจัดการลอจิสติก
หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัญฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3,4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน อย่างน้อยร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชา1302411 การจัดการลอจิสติก ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิธีการจัดเส้นทางการขนส่ง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 84,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 79,200.00 บาท )
1) จำนวน 8 คน x จำนวน 11 เดือน x เดือนละ 900.00 บาท
=
79,200.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าของที่ระลึก
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
6,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 92,200.00 บาท