แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสัญจร
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์แและเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : สอน 3 ปี
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยเป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากการประเมินผลนานาชาติของโครงการ Programme for International Student Assessment (PISA) พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (Walker, 2011) อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ดังนั้นเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด (Blachman, 1984) มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ นานมีบุ๊คส์ พร้อมด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน จึงได้ดำเนินโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย โดยมุ่งวางรากฐานวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย ส่งเสริมให้เด็กกระตือรือร้น กล้าคิด ช่างสังเกต รู้จักตั้งคำถามพร้อมกับค้นหาคำตอบ ตลอดจนมีทักษะการสื่อสาร และสามารถที่จะทำงานเป็นกลุ่มได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้น มีโรงเรียนในเครือข่ายประมาณ 70 โรงเรียนตั้งแต่ปี 2554 – 2556 ในปีงบประมาณ 2556 ได้ดำเนินการจัดการอบรมเรื่องน้ำ อากาศและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเพิ่มกิจกรรมการทดลองให้ครูได้จัดกิจกรรมให้นักเรียน อันจะนำไปสู่การขอตราพระราชทานและมีแนวโน้มที่ครูจะขอตราพระราชทานมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมมีจำนวนมาก งบประมาณส่วนมากจึงใช้ไปกับขั้นถ่ายทอดความรู้ งบประมาณจึงไม่เพียงพอต่อขั้นติดตามผล อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการจัดกิจกรรมในปีงบประมาณ 2557 คือครูจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแล้วครูโพสต์ใน facebook ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่ชื่อว่า “บ้านนักวิทย์น้อย ม.อุบลฯ” หลังจากที่มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแล้วเสร็จ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นคือ ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลาและ ดร.สุระ วุฒิพรหม ได้ติดตามการดำเนินงานของโครงการที่โรงเรียนเทศบาล 4 พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ พบความท้าทายในความขาดแคลน เนื่องจากโรงเรียนไม่มีอุปกรณ์ที่พร้อมดังเช่นเมื่อครั้งที่รับการอบรมที่มหาวิทยาลัย ดังนั้นผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นมีบทบาทอย่างมากที่จะแสดงให้ครูได้เห็นว่าอุปกรณ์เท่าที่ครูมีอยู่ก็สามารถจัดกิจกรรมของโครงการได้ ทำให้ครูมีความมั่นใจในการจัดกิจกรรมมากขึ้น ในก้าวต่อไปของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ในปีงบประมาณ 2558 จึงมุ่งไปที่การจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียน เพื่อให้ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น ได้เห็นสภาพจริงในการดำเนินงานของครู รับทราบปัญหาและอุปสรรคเพื่อช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ได้ทำงานร่วมกับครูและนักเรียน รวมทั้งมีครูโรงเรียนอื่น ๆ เข้าร่วมสังเกตการสอนและร่วมทำงานกันเป็นทีมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในการเป็นวิทยากรประจำฐานต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนให้ครูมีความเชี่ยวชาญในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนปฐมวัยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางเพื่อเพิ่มปริมาณการทดลองวิทยาศาสตร์ให้แก่ครูก็ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องเช่นเดิม

วัตถุประสงค์
1.พัฒนาคุณภาพครูด้านเทคนิคการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัย ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3.เพื่อรับทราบปัญหาของครูที่สอนด้วยกิจกรรมในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยและเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
4.เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อโครงการของครูที่เข้ารับการอบรมและครูที่ได้รับการติดตามผลการดำเนินโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูและนักเรียนในระดับปฐมวัย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การดำเนินการ แบ่งเป็น 3 ขั้นดังต่อไปนี้ 1. ขั้นถ่ายทอดความรู้ การอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทาง (เรื่องอื่นๆ นอกจากเรื่องน้ำ อากาศและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) 2. ขั้นบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสัญจร ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นออกกิจกรรมการทดลองในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่โรงเรียน โดยเน้นใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในโรงเรียนเป็นอุปกรณ์ในการทดลองจำนวน 5 ครั้งพร้อมทั้งรับทราบปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อนำกิจกรรมของโครงการไปใช้จริงที่โรงเรียน 3. ขั้นจัดทำรายงาน ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นรวบรวมรายงานผลประจำปีจากโรงเรียนอนุบาล เพื่อจัดทำรายงานประจำปีของโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขั้นถ่ายทอดความรู้ -- --- --- --- 100,000.00
2.ขั้นบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสัญจร -- --- -- -- 120,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
08.00 - 17.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเฉพาะทาง ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น
19 ธันวาคม พ.ศ. 2557
08.00 - 17.00 น. บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสัญจร ครั้งที่ 1 ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น
12 มิถุนายน พ.ศ. 2558
08.00-17.00น. บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสัญจร ครั้งที่ 3 ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
08.00-17.00น. บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสัญจร ครั้งที่ 2 ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต
ด้านสังคม : สร้างสังคมวิทยาศาสตร์ของครูและนักเรียนในระดับปฐมวัย
ด้านสิ่งแวดล้อม : ครูใช้ สิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นสื่อในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้
ด้านอื่นๆ : สร้างทีมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
300
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ จำนวนผู้ร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1103431 Applied Electronics
หลักสูตร วท.บ.(ฟิสิกส์)
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยอยู่ในระดับมาก
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 63,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 48,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 48,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
5,400.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
3) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
21,600.00 บาท
4) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 14,400.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาเตรียมงาน อัตรา 25 บาท ต่อชั่วโมงจำนวน 6 คน x จำนวน 8 ชม. x จำนวน 150.00 บาท/ชม.
=
7,200.00 บาท
2) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงาน อัตรา 25 บาท ต่อชั่วโมงจำนวน 6 คน x จำนวน 8 ชม. x จำนวน 150.00 บาท/ชม.
=
7,200.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 91,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 7,500.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 500.00 บาท
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 27,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 90 คน
=
9,000.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 90 คน
=
14,400.00 บาท
2) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
9,600.00 บาท
3) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 11,200.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแม่บ้านทำความสะอาดจำนวน 1 ครั้งๆ ละ 2 วันๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน/วัน
=
1,200.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบันทึกภาพนิ่งและวีดีโอจำนวน 5 ครั้งๆ ละ 2000 บาท
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 33,300.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 9,940.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,880 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,940.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
300 คน x 10.00 บาท
=
3,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 23,360.00 บาท )
1) กล่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 5 กล่อง ๆ ละ 2,000 บาท
=
10,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุการศึกษา
=
6,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
=
7,360.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 188,000.00 บาท