แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการ OTOP ไทยก้าวไกลสู่ AEC
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายไกรศักดิ์ ยงกุลวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการจัดการอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : วิทยากรการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ วิทยากรการจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ การจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ทางการค้าระหว่างอาเซียนให้มีความชัดเจน โปร่งใสมากขึ้น และครอบคลุมเรื่องมาตรการทางภาษี และมิใช่ภาษี ซึ่งจะทำให้การค้าสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมีอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันน้อยที่สุดในปี 2015 อาเซียนจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน 4 ด้าน คือ 1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ และเงินทุนอย่างมีเสรีมากขึ้น 2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน) มาตรการด้านภาษี และพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ 3.การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน ให้มีการเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเพื่อลดช่องว่างจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน 4.การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยเน้นการดำเนินมาตรการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (CEP) กับประเทศนอกภูมิภาค ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement) หรือชื่อย่อว่า “ATIGA” เป็นความตกลงที่เกิดขึ้นภายในแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ที่ต้องการให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานที่มีทักษะ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น ความตกลง ATIGA เป็นความตกลงที่มีเกี่ยวข้องกับความตกลง สินค้าหลายฉบับที่อาเซียนเคยให้สัตยาบันมาก่อนหน้านี้ คือ (1)ความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน (PTA) (2)การใช้ความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT) (3)ความตกลงด้านศุลกากรอาเซียน (ASEAN Agreement on Custom) (4)กรอบความตกลงในข้อตกลงยอมรับร่วมกันของอาเซียน (MRAs) (5)กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) (6)พิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรฮาร์โมไนซ์ของอาเซียน (7)กรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (8)ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากข้อตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement) นับเป็นโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ของไทยซึ่งในปัจจุบันเป็นสินค้าที่นำรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นทั้งการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชากร เป็นการสืบทอดงานฝีมือของท้องถิ่นและเป็นการสร้างงานให้คนในท้องถิ่นเพื่อลดปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปประกอบอาชีพที่อื่น ในปัจจุบันสินค้า OTOP ได้กลายเป็นสินค้าที่มีการแข่งขันการขายค่อนข้างสูงทั้งนี้เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์ OTOP ต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันของจังหวัดอุบลฯได้มุ่งเน้นการขายภายในประเทศเป็นหลัก ในส่วนของการส่งออกหรือการทำตลาดต่างประเทศยังไม่ได้รับการยอมรับและยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ซึ่งในตัวผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดอุบลฯเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเพียงพอแก่การส่งออกแต่ยังประสบปัญหาในด้านความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์ของลูกค้าต่างชาติ ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม ศาสนาและ รสนิยม รวมถึงสีสันและความต้องการในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศ ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ทำการผลิตในปัจจุบันสามารถตอบสนองความต้องการและเข้าถึงรสนิยมของชาวต่างชาติหรือเป็นที่นิยมของตลาดแล้วจะทำให้สามารถขยายตลาด และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้ และยังสร้างความยั่งยืนให้แก่ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้สามารถดำรงอยู่และสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้จัก ให้ความสำคัญ และเข้าใจถึงกลยุทธ์การตลาดในตลาดประเทศอาเซียน
2. 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของตนให้ตรงกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคกลุ่มประเทศอาเซียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ไปในจังหวัดอุบลฯ รุ่นละ 30 คน จำนวน 2 รุ่น รวม 60 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
เป็นการอบรมได้เปิดโลกทรรศน์เขตการค้าเสรีอาเซียน ได้ทราบกลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การผลิตสินค้าและต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มประเทศอาเซียน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอขอรับงบประมาณ เตรียมแผนงาน ประชุมวิธีการทำงาน --- --- --- 15,000.00
2.ติดต่อประสานงาน เตรียมโครงการ ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้ร่วมโครงการฯ ดำเนินการ --- --- --- 44,000.00
3.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- --- 6,000.00
4.รายงานผล --- --- --- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
27 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-10.30 บรรยายและฝึกปฎิบัติเปิดโลกทรรศน์เขตการค้าเสรีอาเซียน ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
27 มีนาคม พ.ศ. 2558
10.30-12.00 บรรยายและฝึกปฎิบัติกลยุทธ์การตลาด ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
27 มีนาคม พ.ศ. 2558
13.00-14.30 บรรยายและฝึกปฎิบัติกลยุทธ์กระบวนการผลิตและต้นทุนการผลิต ผศ.นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ
27 มีนาคม พ.ศ. 2558
14.30-16.00 บรรยายและฝึกปฎิบัติ กลยุทธ์กระบวนการผลิตและต้นทุนการผลิต (ต่อ) ผศ.นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ
30 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-10.30 บรรยายและฝึกปฎิบัติเปิดโลกทรรศน์เขตการค้าเสรีอาเซียน ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
30 มีนาคม พ.ศ. 2558
10.45-12.00 บรรยายและฝึกปฎิบัติกลยุทธ์การตลาด ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
30 มีนาคม พ.ศ. 2558
13.00-14.30 บรรยายและฝึกปฎิบัติกลยุทธ์กระบวนการผลิตและต้นทุนการผลิต ผศ.นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ
30 มีนาคม พ.ศ. 2558
14.45-16.00 บรรยายและฝึกปฎิบัติ กลยุทธ์กระบวนการผลิตและต้นทุนการผลิต (ต่อ) ผศ.นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ด้านการจัดการการผลิตสินค้าสำหรับธุรกิจชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศอาเซียนและสามารถวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆที่มีผลกระทบต่อสภาวะการแข่งขันได้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
48
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
20
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1,100 บาทต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1701 346 วิชาการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า หรือวิชา 1701342 ระบบจัดซื้อและพัสดุคงคลัง
หลักสูตร การจัดการธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 21,180.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 6,780.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,780.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,780.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 28,270.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 19,270.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมสถานที่และทำความสะอาด
=
2,770.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาแรงงาน 2 คน *300 บาท*10 วัน
=
6,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มและสรุปโครงการ
=
5,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาพิมพ์งาน
=
5,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 16,550.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 16,550.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
18,500 แผ่น x 0.50 บาท
=
9,250.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,300.00 บาท
=
3,300.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 66,000.00 บาท